กีวี่

กีวี

กีวีไม้ผลประเภทเลื้อยเถาในเขตหนาวที่สำคัญชนิดหนึ่งของโลก มีถิ่นกำเนิดทางภาคตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศจีน ในปี พ.ศ.2407 เมื่อร้อยกว่าปีมาแล้ว มิสชันนารีชาวนิวซีแลนด์คณะหนึ่งเดินทางกลับมาจากประเทศจีน และได้นำ ผลไม้ชนิดหนึ่งที่เรียกกันว่า “ไชนิส กูสเบอร์รี” (Chinese gooseberries) ไปปลูกลงบนผืนดินของนิวซีแลนด์ ด้วยสภาพดินที่อุดมสมบูรณ์ และอากาศที่เอื้ออำนวยต่อการปลูกพืช ผลไม้ชนิดนี้จึงมีรสชาติดีขึ้น พ.ศ.2502 พวกเขาจึงได้ตั้งชื่อ “กีวี่ฟรุต” (Kiwifruit) เป็นชื่อใหม่ของผลไม้ชนิดนี้ ตามชื่อนกกีวีที่เป็นนกสัญลักษณ์ของประเทศ

ปัจจุบัน นิวซีแลนด์พัฒนาคุณภาพกีวีจนเป็นที่ต้องการของตลาดโลก สามารถส่งออกกีวีไปยังผู้บริโภคใน 70 ประเทศ เฉพาะยุโรปทวีปเดียวก็ทำสถิติขายได้ปีละ 1.5 ล้านล้านผล รวมทั้งส่งกีวีมาจำหน่ายยังประเทศในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มาเลเซีย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ เวียดนาม และไทย

สำหรับประเทศไทยโครงการหลวงได้ร่วมกับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ นำพันธุ์กีวีฟรุตจากประเทศนิวซีแลนด์เข้ามาปลูกครั้งแรกในปี พ.ศ.2519 ที่สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง และพบว่ากีวีฟรุตบางพันธุ์สามารถออกดอกและติดผลได้ดี มีโอกาสที่จะพัฒนาให้เป็นไม้ผลเศรษฐกิจบนพื้นที่สูงได้ กีวีฟรุตจึงนับว่าเป็นไม้ผลที่มีศักยภาพดีชนิดหนึ่งในอนาคต

Actinidia deliciosa เป็นกีวีฟรุตที่ปลูกเป็นการค้ามากที่สุดของโลก ลักษณะโดยทั่วไปผลมีขนาดใหญ่ น้ำหนักผลประมาณ 100-150 กรัม ผิวผลสีน้ำตาล มีขน เนื้อผลสีเขียว มีปริมาณวิตามินซี 100-200 มิลลิกรัมต่อเนื้อผล 100 กรัม พันธุ์ที่เป็นการค้าที่สำคัญของโลกได้แก่ พันธุ์ Hayward สำหรับพันธุ์ที่ปลูกได้ค่อนข้างดีในประเทศไทย คือ พันธุ์ Bruno

A. chinensis เป็นกีวีฟรุตชนิดที่เริ่มมีความนิยมที่ปลูกเป็นการค้าใหม่ๆ ขึ้นมามาก พันธุ์ที่เป็นการค้าที่สำคัญของโลกได้แก่ พันธุ์ Hort16A ของนิวซีแลนด์ กีวีฟรุตชนิดนี้ต้องการความหนาวเย็นมากสั้นกว่า A. deliciosa จึงเป็นชนิดที่มีศัยกภาพในการปลูกเป็นการค้าในประเทศไทย เช่น พันธุ์ Yellow joy จากประเทศญี่ปุ่น และพันธุ์ลูกผสมต่างๆ จากโครงการศึกษาและคัดเลือกพันธุ์กีวีฟรุตของโครงการหลวง ส่วนใหญ่กีวีฟรุตเนื้อผลมีสีเหลืองผลมีขนาดใหญ่ น้ำหนักผลประมาณ 100-150 กรัม ผิวผลสีน้ำตาล มีขนค่อนข้างสั้น มีปริมาณวิตามินซี ประมาณ 100-200 มิลิลกรัมต่อเนื้อผล 100 กรัม

A. arguta มีชื่อเรียกว่า Baby Kiwi, Wee-kis หรือ Grape Kiwi เป็นกีวีฟรุตที่มีการปลูกเป็นการค้าแต่ยังไม่มากนัก ลักษณะโดยทั่วไปผลขนาดเล็ก น้ำหนักผลประมาณ 6-14 กรัม ผิวผลเรียบไม่มีขน รับประทานได้ทั้งเปลือก รสชาติหวาน มีกลิ่นหอมมีปริมาณวิตามินซี ประมาณ 70-100 มิลลิกรัมต่อเนื้อผล 100 กรัม พันธุ์ที่เป็นการค้าที่สำคัญของโลกได้แก่ พันธุ์ Ananasnaya สำหรับประเทศไทยมีหลายพันธุ์ที่นำมาจากประเทศญี่ปุ่นมีแนวโน้มว่าศักยภาพดี

กีวีได้ผ่านการวิจัยแล้วว่าเป็นผลไม้ที่มี วิตามินซี และวิตามินอีในสัดส่วนสูง ซึ่งวิตามินทั้งสองชนิดนี้เป็นสารแอนตี้ออกซิแดนท์ (ตัวต้านออกซิแดนท์) ที่ทรงประสิทธิภาพมากมีประโยชน์สำหรับคนทุกเพศทุกวัย

กีวี 100 กรัม ให้วิตามินซีสูงถึง 167% ของ RDA (Recommended Daily Allowance) ให้วิตามินซีมากกว่าการบริโภคแอปเปิล ส้ม กล้วย แครนเบอร์รี องุ่น ลูกแพร์ ทับทิม ในปริมาณที่เท่ากัน

วิตามินอีในกีวีเป็นวิตามินอีที่อยู่ในแหล่งอาหารที่ปราศจากไขมัน จึงช่วยลดคอเลสเตอรอลในเส้นเลือดได้ในตัว ซึ่งหมายถึงการลดความเสี่ยงของการเป็นโรคหัวใจด้วย

โพแทสเซียม (331 มิลลิกรัม/กีวี 100 กรัม) ภาวะความดันโลหิตสูงเป็นปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดหัวใจวาย โพแทสเซียมช่วยลดภาวะความดันโลหิตสูงได้ ผู้มีอายุต้องการโพแทสเซียมช่วยซ่อมแซมกล้ามเนื้อและเส้นใยประสาท กล้วยหอมเป็นผลไม้ที่มีโพแทสเซียมสูง แต่กล้วยหอม 100 กรัม ให้พลังงานสูงกว่ากีวีถึง 2 เท่า สำหรับคนที่ออกกำลังกายเป็นประจำคงเผาผลาญพลังงานไปได้ แต่สำหรับคนที่ขาดการออกกำลังกาย พลังงานส่วนเกินที่ได้รับมีผลต่อน้ำหนักตัวที่จะเพิ่มขึ้น

ไฟเบอร์ (3.4 กรัม/กีวี 100 กรัม) ผลการศึกษากลุ่มตัวอย่างสุขภาพดีอายุ 60 ปีขึ้นไป จำนวน 38 ราย กลุ่มหนึ่งรับประทานอาหารตามปกติ อีกกลุ่มรับประทานอาหารตามปกติเช่นกันและกินกีวีด้วยอัตรากีวี 1 ผล/น้ำหนักตัว 30 กิโลกรัม เป็นเวลา 3 สัปดาห์ พบว่ากลุ่มที่กินกีวีด้วยนั้นขับถ่ายสะดวกและสม่ำเสมอกว่ากลุ่มที่รับประทานอาหารตามปกติอย่างเดียว ผลไม้ชนิดอื่นๆ ที่ให้เส้นใยอาหาร (Fibre หน่วยกรัม/100 กรัม) เช่น ลูกแพร์ 2.2, แอปเปิล 1.8, ส้ม 1.7, กีวีสีทอง 1.4, กล้วยหอม 1.1, กรัม, องุ่น 0.7

โฟลเลต คือแร่ธาตุสำคัญที่ช่วยในการแบ่งตัวของเซลล์ใหม่ (หมายถึงโครงสร้างร่างกายทั้งหมด) เช่น การสร้างอวัยวะทารกในครรภ์ การสร้างเม็ดเลือด การสร้างสารพันธุกรรมในร่างกาย คุณแม่ตั้งครรภ์ที่ขาดโฟลเลตมีความเสี่ยงที่ทารกจะมีความพิการทางสมองและระบบประสาท กีวี 1 ผล ขนาด 76 กรัม มีโฟลเลต 19 ไมโครกรัม หรือ 5% ที่ร่างกายควรได้รับในแต่ละวัน (RDA)

แมกนีเซียม (30 มิลลิกรัม/กีวี 100 กรัม) ร่างกายจะดูดซึมแคลเซียมไปใช้สร้างเสริมความแข็งแรงของกระดูกและฟันได้ต้องอาศัยการทำงานร่วมกันของแมกนีเซียม กระดูกที่แข็งแรงช่วยให้ร่างกายทำกิจกรรมต่างๆ ในชีวิตได้คล่องตัวขึ้น และมีความสุขกับชีวิตได้เต็มที่ แมกนีเซียมที่มีในผลไม้ชนิดอื่น (หน่วยมิลลิกรัม/100 กรัม) เช่น กล้วยหอม 34, กีวีสีทอง 14.5, ส้ม 10, องุ่นและลูกแพร์ 7, ส้ม 5

ซิงก์ แร่ธาตุชนิดนี้มีความสำคัญสำหรับเด็กหนุ่มและผู้ชายทุกคน เพราะเป็นแร่ธาตุที่ใช้สร้างฮอร์โมนเพศชาย (เทสโตสเตอโรน)

จากผลการศึกษาในนิวซีแลนด์และยุโรปพบว่า การรับประทานกีวี 2 ผล/วัน จะช่วยลดภาวะที่เซลล์จะถูกทำลายโดยอนุมูลอิสระ และยังช่วยซ่อมแซมดีเอ็นเอที่ถูกทำลายจากกระบวนเผาผลาญอาหารของร่างกายได้อีกด้วย รวมทั้งสามารถเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานภูมิคุ้มกันของร่างกาย

นักวิจัยในสหรัฐอเมริกายังพบประโยชน์อีกว่า เมื่อกินกีวีพร้อมหรือกินหลังอาหาร – โดยเฉพาะหากอาหารมื้อนั้นเป็นอาหารที่มีไขมันมาก – แร่ธาตุในกีวีจะช่วยลดสภาวะที่ร่างกายมีอนุมูลอิสระมากจนสารต้านอนุมูลอิสระมีไม่เพียงพอได้ด้วย

ที่มา  http://www.baanmaha.com/community/thread22384.html

ประโยชน์ที่ได้รับ  ได้รู้ว่ากีวี่เป็นผลไม้ที่ดีต่อสุขภาพ

เชอรี่

เชอร์รี เป็นผลไม้ชนิดหนึ่ง มีรสชาติหวานอมเปรี้ยว ต้นเชอร์รีเป็นไม้ยืนต้นในสกุล Prunus สกุลย่อย Cerasus เป็นไม้พุมขนาดกลาง ชอบอากาศหนาวเย็น ใบเขียวเข้ม ดอกสีขาวอมชมพู ผลกลม ขนาดเล็ก เปลืกมีทั้งสีแดงเข้ม สีส้มและสีเหลือง โดยทั่วไปแบ่งได้เป็น 2 กลุ่มคือเชอร์รีหวาน กับเชอร์รีหวานอมเปรี้ยว แหล่งที่ปลูกเชอร์รี่มากคือทวีปอเมริกา ออสเตรเลีย ยุโรปและญี่ปุ่นเชอร์รีเป็นผลไม้ที่นำมาปรุงอาหารได้หลากหลายชนิด ทั้งกินสดเป็นผลไม้ คั้นเป็นน้ำเชอร์รี ทำขนมเช่น พายเชอร์รี แยมเชอร์รีหรือนำไปเชื่อม เชอร์รี่ที่นิยมนำผลมาบริโภคมากที่สุดคือเชอร์รีป่า (P. avium

ที่มา  http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%80%E0%B8%8A%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B9%88

ข้าวโพด

ลักษณะทางพฤษศาสตร์

ข้าวโพดเป็นพืชจำพวกหญ้า รากชั่วคราว เรียกว่า ไพรี หลังจากข้าวโพดเจริญเติบโตได้ประมาณ 7 – 10 วัน รากถาวรจะงอกขึ้นรอบ ๆ ข้อปลาในระดับใต้พื้นดินประมาณ 1-2 นิ้ว รากถาวรนี้ เมื่อเจริญเติบโตเต็มที่จะแผ่ออกไปโดยรอบประมาณ 100 เซนติเมตร รากของข้าวโพดเป็นระบบรากฝอย (fibrous root system) นอกจากรากที่อยู่ใต้ดินแล้ว ยังมีรากยึดเหนี่ยว (brace root) ซึ่งเกิดขึ้นรอบ ๆ ข้อที่อยู่ใกล้ผิวดิน มีลำต้นตั้งตรงแข็งแรง เนื้อภายในฟ่ามคล้ายฟองน้ำสูงประมาณ 1.4 เมตร ลำต้นมีข้อ (node) และปล้อง (internode) ปล้องที่อยู่ในดินและใกล้ผิวดินสั้น และจะค่อย ๆ ยาวขึ้นไปทางด้านปลาย ปล้องเหนือพื้นดินจะมีจำนวนประมาณ 8-20 ปล้อง ลำต้นสดมีสีเขียว ใบ ยาวรี เป็นเส้นตรงปลายแหลม ยาวประมาณ 30-100 ซม. เส้นกลางของใบจะเห็นได้ชัด ตรงขอบใบมีขนอ่อนๆ มีเขี้ยวใบ ลักษณะของใบรวมทั้งสีของใบแตกต่างกันไป แล้วแต่ชนิดของพันธุ์ บางพันธุ์ใบสีเขียว บางพันธุ์ใบสีม่วงและบางพันธุ์ใบลาย จำนวนใบก็เช่นเดียวกันอาจมีตั้งแต่ 8-48 ใบ ดอกตัวผู้และดอกตัวเมียอยู่ในต้นเดียวกัน ช่อดอกตัวผู้อยู่ส่วนยอดของลำต้น ช่อดอกตัวเมียอยู่ต่ำลงมาอยู่ระหว่างกาบของใบ และลำต้น ช่อดอกตัวผู้ (tassel) อยู่ตอนบนสุดของลำต้น ดอกตัวผู้ดอกหนึ่งจะมีอับเกสร (anther) 3 อับ ส่วนดอกตัวเมียอยู่รวมกันเป็นช่อ เกิดขึ้นตอนข้อกลาง ๆ ลำต้น ฝักเกิดจากดอกตัวเมียที่เจริญเติบโตแล้ว ฝักอ่อนจะมีสีเขียว พอแก่เป็นสีนวล <

[แก้] ถิ่นกำเนิด

มีการขุดพบซังข้าวโพดและซากของต้นข้าวโพดที่ใกล้แม่น้ำในนิวเม็กซิโก (แถบอเมริกาใต้) และปัจจุบันนิยมปลูกแพร่หลายในแถบอเมริกา แคนาดา สามารถปลูกได้ในสภาพที่ภูมิอากาศแตกต่างกันมาก ๆ เป็นแหล่งอาหารที่สำคัญของสัตว์ เพราะสามารถนำมาเลี้ยงสัตว์ได้ทั้งต้น ใบ และเมล็ด

[แก้] การนำเข้ามาในประเทศไทย

สำหรับประเทศไทย คนไทยรู้จักนำข้าวโพดมาเลี้ยงสัตว์ตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่ 1 โดย หม่อมเจ้าสิทธิพร กฤดากร ได้นำข้าวโพดพันธุ์ที่ใช้เลี้ยงสัตว์มาปลูกและทดลองใช้เลี้ยงสัตว์ ซึ่งในขณะนั้นเป็นยังเป็นที่รู้จักกันน้อย จนกระทั่งหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 การใช้ข้าวโพดเริ่มแพร่หลายขึ้นเนื่องจาก หลวงสุวรรณวาจกกสิกิจได้นำการเลี้ยงไก่แบบการค้ามาเริ่มสาธิต และกระตุ้นให้ประชาชนปฏิบัติตามผู้เลี้ยงไก่จึงรู้จักใช้ข้าวโพดมากขึ้นกว่าเดิม แต่เนื่องจากระยะนั้นข้าวโพดมีราคาสูงและหายาก การใช้ข้าวโพดจึงใช้เป็นเพียงส่วนประกอบของอาหารหลัก ซึ่งมีรำและปลายข้าวเป็นส่วนใหญ่ แต่ในปัจจุบันผู้เลี้ยงสัตว์รู้จักข้าวโพดกันทั่วไป และในปัจจุบันประเทศไทยได้ปลูกข้าวโพดในปีหนึ่ง ๆ เป็นจำนวนมาก

[แก้] ชนิดของข้าวโพด

โดยทั่วไปข้าวโพดจัดออกเป็น 5 กลุ่ม คือ

  1. ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์หรือข้าวโพดไร่ (Field Corn) ที่รู้จักในปัจจุบันเช่นข้าวโพดหัวบุ๋ม (Dent Coorn) และข้าวโพดหัวแข็ง (Fint Corn) ซึ่งเป็นการเรียกตามลักษณะเมล็ดข้าวโพดหัวบุ๋มหรือหัวบุบ ข้าวโพดชนิดนี้เมื่อเมล็ดแห้งแล้วตรงส่วนหัวบนสุดจะมีรอยบุ๋มลงไป ซึ่งเป็นส่วนของแป้งสีขาว ข้าวโพดชนิดนี้สำคัญมากและนิยมปลูกกันมากใน ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยเฉพาะทางแถบคอร์นเบลท์ สีของเมล็ดมีตั้งแต่ขาวไปจนถึงเหลือง เนื่องจากมีหลายสายพันธุมีโปรตีนน้อยกว่าพวกข้าวโพดหัวแข็ง ข้าวโพดหัวแข็ง ข้าวโพดพันธุ์นี้ส่วนขนสุดของเมล็ดมักมีสีเหลืองจัดและเมื่อแห้งจะแข็งมาก ภายในเมล็ดมีสารที่ทำให้ข้าวโพดมีสีเหลืองจัดเป็นสารให้สีที่ชื่อ คริปโตแซนทีน (Cruptoxanthin) สารนี้เมื่อสัตว์ได้รับร่างกายสัตว์จะเปลี่ยนสารนี้ให้เป็นวิตามินเอ นอกจากนี้สารนี้ยังช่วยให้ไข่แดงมีสีแดงเข้ม ช่วยให้ไก่มีผิวหนัง ปาก เนื้อ และแข้งมีสีเหลืองเข้มขึ้น เป็นที่นิยมของตลาดโดยเฉพาะแถบอเมริกาส่วนอังกฤษนั้นนิยมใช้ข้าวโพดขาว
  2. ข้าวโพดหวาน (Sweet Corn) เป็นข้าวโพดที่คนใช้รับประทาน ไม่มีการแปรรูป เมล็ดมักจะใสและเหี่ยวเมื่อแก่เต็มที่ เพราะมีน้ำตาลมาก ก่อนที่จะสุกจะมีรสหวานมากกว่าชนิดอื่น ๆ จึงเรียกข้าวโพดหวาน มีหลายสายพันธุ์
  3. ข้าวโพดคั่ว (Pop Corn) เป็นข้าวโพดที่คนใช้รับประทาน ไม่มีการแปรรูป เมล็ดค่อนข้างแข็ง สีดีและขนาดแตกต่างกัน สำหรับต่างประเทศ ถ้าเมล็ดมีลักษณะแหลมเรียกว่า ข้าวโพดข้าว (Rice Corn) ถ้าเมล็ดกลม เรียกว่า ข้าวโพดไข่มุก (Pearl Corn)
  4. ข้าวโพดแป้ง (Flour Corn) เมล็ดมีสีหลายชนิด เช่น ขาว (ขุ่น ๆ หรือปนเหลืองนิด ๆ) หรือสีน้ำเงินคล้ำ หรือมีทั้งสีขาวและสีน้ำเงินคล้ำในฝักเดียวกัน เนื่องจากกลายพันธุ์ พวกที่มีเมล็ดสีคล้ำและพวกกลายพันธุ์เรียกว่าข้าวโพดอินเดียนแดง (Squaw Corn) หรือเรียกได้อีกชื่อว่าข้าวโพดพันธุ์พื้นเมือง (Native Corn) พวกข้าวโพดสีคล้ำนี้จะมีไนอาซีน สูงกว่าข้าวโพดที่มีแป้งสีขาว
  5. ข้าวโพดเทียน (Waxy Corn) เป็นข้าวโพดที่คนใช้รับประทาน จะมีแป้งที่มีลักษณะเฉพาะคือ นุ่มเหนียว เพราะในเนื้อแป้งจะประกอบด้วยแป้งพวกแอมมิโลเปคติน (Amylopectin) ส่วนข้าวโพดอื่น ๆ มีแป้งแอมมิโลส (Amylose) ประกอบอยู่ด้วย จึงทำให้แป้งค่อนข้างแข็ง

ข้าวโพดที่ใช้เลี้ยงสัตว์ในประเทศไทยมีหลายพันธุ์ ที่นิยมปลูกในประเทศไทยได้แก่ พันธุ์กัวเตมาลา พียี 12 (Rep.1) กัวเตมาลา พีบี 12 (Rep.2) พีบี 5 ข้าวโพดเหนียว และโอเปค-2 มีเมล็ดตั้งแต่สีขาว สีเหลืองไปจนถึงสีแดง ขนาดของเมล็ดขึ้นอยู่กับพันธุ์ โดยทั่วไปจะมีเส้นผ่าศูนย์กลางอยู่ในช่วง 0.5-0.8 ซม. ก่อนนำมาเลี้ยงสัตว์จึงต้องบดก่อนเพื่อช่วยให้การย่อยและการผสมได้ผลดีขึ้น ที่บดแล้วจะมีขนาดประมาณ 1-8 ม ประโยชน์ในด้านอื่นๆ

ข้าวโพดสามารถส่งเสริมการย่อยสลายพีเอเอชที่ปนเปื้อนในดิน เช่น ฟีแนนทรีน ไพรีนได้ โดยย่อยสลายได้ 90 % ที่ความเข้มข้นเริ่มต้น 100 mg/kg [1] และทนทานต่อดินที่ปนเปื้อนน้ำมันเครื่อง [2]จึงมีประโยชน์ต่อการนำไปใช้ฟื้นฟูดินที่ปนเปื้อนพีเอเอชและปิโตรเลียม

ที่มา http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B9%82%E0%B8%9E%E0%B8%94

ทหารเรือ

ทหารเรือ (อังกฤษ: Navy) เป็นทหารที่ทำการรบโดยใช้เรือ การเรียงลำดับอาวุโสของทหาร 3 เหล่าทัพ ถ้าเป็นแบบประเทศสหราชอาณาจักร จะเรียงจาก ทหารเรือ ทหารบก ทหารอากาศ เพราะเป็นมหาอำนาจทางทะเลมาก่อน ทหารเรือจึงเป็นพี่ใหญ่ ทหารเรือ จะมีเรือหลากหลายชนิด ในกองทัพ เช่น เรือดำน้ำ เรือบรรทุกเครื่องบิน เรือประจัญบาน เป็นต้น

[แก้] ทหารเรือไทย

ทหารเรือไทย (Thai Navy) ในประเทศไทยจะรวมเอา นาวิกโยธิน(Marine) เข้ามารวมด้วยจะมีทั้งหมดสามพรรคเหล่าใหญ่ คือ นาวิน นาวิกโยธิน และกลิน ถ้าเป็นแบบประเทศไทย จะเรียงจาก ทหารบก ทหารเรือ ทหารอากาศ เพราะทหารเหล่าแรกของบ้านเราคือทหารบกที่เป็นทหารราบ สมัยก่อนรบกันแบบประชิดตัว ใช้ดาบ ฆ่าพันพันตูกัน ต่อมาจึงค่อยมีปืนเล็ก มีรถถัง มีปืนต่อสู้อากาศยาน มีการรบแบบพิเศษ

กองทัพเรือไทย หรือ ราชนาวี (คำย่อ : ทร. ชื่อภาษาอังกฤษ : Royal Thai Navy คำย่อภาษาอังกฤษ : RTN) เป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบต่อการปฏิบัติการทางทหารในทะเล ลำน้ำ และพื้นที่บริเวณชายฝั่งของประเทศไทย กองทัพเรือมีจำนวนกำลังพลประจำการเป็นลำดับ 2 (รองจากกองทัพบก) ซึ่งมีเรือปฏิบัติการด้วยเรือรบกว่า 340 ลำ อากาศยานกว่า 90 เครื่อง และกำลังรบทางบกอีก 2 กองพล นับเป็นกองทัพเรือที่มีความสำคัญในลำดับต้นของภูมิภาคเอเชีย กองทัพเรือมีผู้บัญชาการทหารเรือเป็นผู้บังคับบัญชาสูงสุด โดยเป็นหน่วยงานในสังกัดของกองบัญชาการกองทัพไทย ที่มีผู้บัญชาการทหารสูงสุดเป็นผู้บังคับบัญชา และอยู่ในสังกัดของกระทรวงกลาโหม

กองทัพเรือมีพื้นที่ปฏิบัติการหลักทั้งในอ่าวไทยและทะเลอันดามัน ตามแนวเขตแดนระหว่างประเทศในทะเลความยาวกว่า 1,680 ไมล์ และตามแนวชายฝั่งความยาวกว่า 1,500 ไมล์ หน่วยต่างๆ ในสังกัดกองทัพเรือมีลักษณะการจัดโครงสร้างหน่วยที่คล้ายกับกองทัพเรือสหรัฐอเมริกามาก โดยเฉพาะในหน่วยกำลังรบ คือ กองการบินทหารเรือ กองเรือยุทธการ (กบร. กร.) หน่วยบัญชาการสงครามพิเศษทางเรือ กองเรือยุทธการ (นสร. กร.) และหน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน (นย.หน้าที่ ภารกิจ และบทบาท


กองทัพเรือมีหน้าที่เตรียมกำลังกองทัพเรือ การป้องกันราชอาณาจักร และดำเนินการเกี่ยวกับการใช้กำลังกองทัพเรือตามอำนาจหน้าที่ของกระทรวงกลาโหม ตามพระราชบัญญัติจัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม พ.ศ. 2551[2] ตลอดจนหน้าที่อื่นๆ ที่ได้รับมอบหมายจากรัฐบาล

จากหน้าที่ดังกล่าวทำให้กองทัพเรือมีภารกิจ คือ

  1. การปกป้องเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์
  2. การรักษาสิทธิและอธิปไตยของชาติทางทะเล
  3. การคุ้มครองและรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล
  4. การดำรงการคมนาคมทางทะเลให้ได้อย่างต่อเนื่อง
  5. การช่วยเหลือและสนับสนุนการป้องกันอธิปไตยทางบก
  6. การสนับสนุนการรักษาความมั่นคงและความสงบเรียบร้อยภายในประเทศ
  7. การสนับสนุนการพัฒนาประเทศและช่วยเหลือประชาชน

บทบาทของกองทัพเรือในปัจจุบัน คือ

  1. การปฏิบัติการทางทหาร (Military Role) คือ การปฏิบัติการทางเรือเพื่อการป้องกันประเทศในรูปแบบต่างๆ ตามสถานการณ์ที่กระทบต่ออำนาจอธิปไตยและเอกราชของประเทศ ซึ่งจำเป็นต้องใช้กำลังทางเรือที่เข้มแข็ง ปฏิบัติการด้วยความเฉียบพลัน รุนแรง และเด็ดขาด
  2. การรักษากฎหมายและช่วยเหลือ (Constabulary Role) คือ การรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล การรักษาความสงบเรียบร้อยภายในประเทศ การรักษากฎหมายตามที่รัฐบาลมอบอำนาจ ให้ทหารเรือเป็นเจ้าหน้าที่รวม 28 ฉบับ รวมถึงการให้ความช่วยเหลือประชาชนและการพัฒนาประเทศ
  3. การสนับสนุนกิจการระหว่างประเทศ (Diplomatic Role) คือ การสนับสนุนการดำเนินนโยบายและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของรัฐบาล และใช้หรือแสดงกำลังเพื่อสนับสนุนการเจรจาต่อรอง เมื่อมีการขัดกันในผลประโยชน์ของชาติหรือเหตุการณ์วิกฤติที่กระทบต่อผลประโยชน์ของชาติโดยตรง

[แก้] ประวัติ


ธงราชนาวีไทย

กองทัพเรือมีกำเนิดควบคู่มากับการสร้างอาณาจักรไทยนับตั้งแต่กรุงสุโขทัยเป็นราชธานี กองทัพไทยในสมัยเดิมนั้นมีเพียงทหารเหล่าเดียวมิได้แบ่งแยกออกเป็นกองทัพบก กองทัพเรือ และกองทัพอากาศ อย่างเช่นในสมัยปัจจุบัน หากยาตราทัพไปทางบกก็เรียกว่า ทัพบก หากยาตราทัพไปทางเรือก็เรียกว่า ทัพเรือ การจัดระเบียบการปกครองบังคับบัญชากองทัพไทยในยามปกติยังไม่มีแบบแผนที่แน่นอน ในยามศึกสงครามได้ใช้ทหารทัพบกและทัพเรือรวมๆ กันไป ในการ ยาตราทัพเพื่อทำศึกสงครามภายในอาณาจักรหรือนอกอาณาจักร ก็มีความจำเป็นต้องใช้เรือเป็นพาหนะในการลำเลียงทหารและเครื่องศาสตราวุธ เรือนอกจากจะสามารถลำเลียงเสบียงอาหารได้คราวละมากๆ แล้ว ยังสามารถลำเลียงอาวุธหนัก เช่น ปืนใหญ่ ไปได้สะดวกและรวดเร็วกว่าทางบกด้วย จึงนิยมยกทัพไปทางเรือจนสุดทางน้ำแล้วจึงยกทัพต่อไปทางบก กิจการทหารเรือดำเนินไปเช่นนี้จนถึงสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์

พ.ศ. 2394 ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว กิจการทหารเรือเริ่มแบ่งออกมาชัดเจน และแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ ทหารเรือวังหน้า ขึ้นตรงกับพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว กับทหารเรือวังหลวง หรือทหารมะรีนสำหรับเรือรบ ขึ้นตรงกับสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) สมุหพระกลาโหม โดยทหารเรือวังหน้ามีหน่วยขึ้นในสังกัด คือ กรมเรือกลไฟ กรมอาสาจาม และกองทะเล (บางทีเรียกว่ากองกะลาสี) ส่วนกรมอรสุมพลมีหน่วยขึ้นในสังกัด คือ กรมเรือกลไฟ กรมอาสามอญ และกรมอาสาจาม ซึ่งทหารทั้งสองหน่วยนี้เป็นอิสระจากกัน

พ.ศ. 2408 ในสมัยต้นรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว การปกครองประเทศยังเป็นระบบจตุสดมภ์อยู่โดยมีกรมพระกลาโหมว่าการฝ่ายทหาร ในขณะนั้นกิจการฝ่ายทหารเรือแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ทหารเรือวังหน้า หรือทหารเรือฝ่ายพระราชวังบวร ขึ้นตรงกับกรมพระราชวังบวรสถานมงคล (กรมพระราชวังบวรวิชัยชาญ) และทหารเรือวังหลวง หรือกรมอรสุมพล ขึ้นตรงกับสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ และต่อมาในปี พ.ศ. 2412 ขึ้นตรงกับเจ้าพระยาสุรวงศ์ไวยวัฒน์ สมุหพระกลาโหม

พ.ศ. 2415 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยูหัว ได้ทรงปรับปรุงหน่วยทหารในกองทัพขึ้นใหม่ โดยแบ่งออกเป็น 9 หน่วย โดยในส่วนของทหารเรือวังหลวง คือ กรมทหารเรือพระที่นั่ง (เวสาตรี) และกรมอรสุมพล

พ.ศ. 2428 กรมพระราชวังบวรสถานมงคลเสด็จทิวงคต ทหารเรือวังหน้าได้ถูกยุบเลิกไป จึงทำให้ทหารเรือในขณะนั้นมี 2 ส่วน คือ กรมทหารเรือพระที่นั่ง ขึ้นตรงกับพระบาทสมเด็จพระเจ้าจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ส่วนกรมอรสุมพล ขึ้นตรงกับเจ้าพระยาสุรวงศ์ไวยวัฒน์ สมุหพระกลาโหม

8 เมษายน พ.ศ. 2430 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงสถาปนาสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร ดำรงตำแหน่งเป็นผู้บังคับบัญชาทั่วไปในกรมทหาร (Commander-in-chief) ตาม โบราณราชประเพณี เพื่อให้เกิดการประสานงานที่มีประสิทธิภาพระหว่างหน่วยทหารต่างๆ พร้อมกับประกาศจัดการทหาร โดยจัดตั้งกรมยุทธนาธิการขึ้น ซึ่งเป็นการรวมกองทหารบกและกองทหารเรือเอาไว้ด้วยกัน ทั้งหมด ขึ้นตรงกับสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร แต่ในระหว่างที่ยังทรงพระเยาว์ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ากรมพระภาณุพันธุวงศ์วรเดช เป็นผู้แทนผู้บังคับบัญชาการทั่วไปในกรมทหาร สำหรับกองทหารเรือทรงตั้งนายพลเรือโทพระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าสายสนิทวงศ์ เป็นเจ้าพนักงานใหญ่ผู้ช่วยบัญชาการทหารเรือ (Secretary to the Navy) มีหน้าที่ คือ ให้จัดการทั้งปวงที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายข้อบังคับทหารเรือ จำนวนผู้คนในทหารเรือ การฝึกหัดทหารเรือ เรือรบหลวง และพาหนะทางเรือ

1 เมษายน พ.ศ. 2433 ได้มีการยกเลิกประกาศจัดการทหาร พ.ศ. 2430 และได้มีการตราพระราชบัญญัติจัดการกรมยุทธนาธิการขึ้นแทน โดยให้เรียกกรมยุทธนาธิการใหม่ว่ากระทรวงยุทธนาธิการ (Ministry of War and Marine) แบ่งออกเป็น 2 กรม คือ กรมทหารบกและกรมทหารเรือ โดยทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้นายพลโทพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าขจรจรัสวงศ์ กรมหมื่นปราบปรปักษ์ เป็นผู้บัญชาการทหารเรือ (Chief Staff of the Navy) และแบ่งส่วนราชการออกเป็นกรมกลาง กองบัญชีเงิน กรมคลังพัสดุทหารเรือ กองเร่งชำระ กรมคุกทหารเรือ กรมอู่ กรมช่างกล โรงพยาบาลทหารเรือ ทหารนาวิกโยธิน เรือรบหลวงและเรือพระที่นั่งประจำการ

พ.ศ. 2435 ได้มีการจัดระเบียบการปกครองแผ่นดินใหม่ และยกเลิกการปกครองแบบจตุสดมภ์ กำหนดให้มีกระทรวงในราชการ โดยกระทรวงมหาดไทย มีหน้าที่ปกครองบรรดาหัวเมืองต่างๆ ทั่วพระราชอาณาจักร เป็นผลให้กระทรวงกลาโหม ไม่ต้องยุ่งเกี่ยวกับการปกครองทางหัวเมือง คงมีหน้าที่เกี่ยวกับราชการทหารอย่างเดียว จึงได้โอนกรมทหารเรือมาขึ้นกับกระทรวงกลาโหม

11 ธันวาคม พ.ศ. 2453 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เลื่อนฐานะกรมทหารเรือเป็นกระทรวงทหารเรือ และในวันเดียวกันนั้นก็ได้ประกาศแต่งตั้งจอมพลเรือสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต เป็นเสนาบดีกระทรวงทหารเรือ

8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2474 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้รวมกระทรวงทหารเรือกับกระทรวงทหารบกเป็นกระทรวงเดียวกัน ภายใต้นามกระทรวงกลาโหม เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก เป็นผลทำให้ประเทศไทยได้รับผลกระทบกระเทือนดังกล่าวนี้ด้วย ทำให้ฐานะทางการเงินและเศรษฐกิจของประเทศอยู่ในภาวะตกต่ำ จำเป็นต้องพิจารณาตัดทอนรายจ่ายของประเทศให้น้อยลงให้สมดุลกับรายได้ เป็นผลทำให้มีการปรับปรุงการจัดระเบียบราชการใหม่ด้วย โดยแต่งตั้งให้นายพลเรือเอกพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวุฒิไชยเฉลิมลาภ กรมหลวงสิงหวิกรมเกรียงไกร เสนาบดีกระทรวงทหารเรือเดิมเป็นเสนาบดีกระทรวงกลาโหม

พ.ศ. 2475 มีการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองประเทศ กองทัพเรือถูกลดฐานะเป็นเพียงกรมทหารเรือเช่นเดิม กรมต่างๆ ของทหารเรือลดฐานะมาเป็นกองทั้งหมด เว้นแต่กรมเสนาธิการทหารเรือเท่านั้น นอกจากนั้นส่วนราชการของทหารเรือบางส่วนซึ่งได้เอาไปรวมกับฝ่ายทหารบกก็กลับมาสังกัดอยู่ในกรมทหารเรือตามเดิม

30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2476 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนชื่อกรมทหารเรือเป็นกองทัพเรือ ให้เป็นการสอดคล้องกับการเรียกชื่อส่วนรวมของทหารบกว่ากองทัพบก และขึ้นตรงต่อกระทรวงกลาโหม โดยแบ่งส่วนราชการออกเป็น 4 ส่วน คือ กรมเสนาธิการทหารเรือ กองเรือรบ สถานีทหารเรือกรุงเทพ กรมอู่ทหารเรือ กรมสรรพาวุธทหารเรือ และกรมอุทกศาสตร์

พ.ศ. 2510 พ.ศ. 2519 และ พ.ศ. 2521 ได้มีการแบ่งส่วนราชการกองทัพเรือออกเป็น 25 หน่วย ตามพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการและกำหนดหน้าที่ส่วนราชการกองทัพเรือ กองบัญชาการทหารสูงสุด กระทรวงกลาโหม พ.ศ. 2510 พ.ศ. 2519 และ พ.ศ. 2521 นอกจากนั้นเพื่อความสะดวก ทางกองทัพเรือได้จัดกลุ่มหน่วยราชการทั้ง 25 หน่วยขึ้นเป็น 5 ส่วนราชการ คือ ส่วนบัญชาการ ส่วนกำลังรบ ส่วนยุทธบริการ ส่วนการศึกษา และส่วนกิจการพิเศษ

13 กรกฎาคม พ.ศ. 2528 ได้มีการเพิ่มกรมการขนส่งทหารเรือขึ้นในส่วนยุทธบริการ และเปลี่ยนชื่อโรงเรียนนายทหารเรือเป็นสถาบันวิชาการทหารเรือชั้นสูง

15 เมษายน พ.ศ. 2530 จัดตั้งสำนักงานตรวจบัญชีทหารเรือเพิ่มเติม

พ.ศ. 2538 ได้มีการจัดส่วนราชการใหม่ตามพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการและกำหนดหน้าที่ของส่วนราชการกองทัพเรือ กองบัญชาการทหารสูงสุด กระทรวงกลาโหม พ.ศ. 2538 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2540 โดยแบ่งส่วนราชการออกเป็น 35 หน่วย และจัดเป็นกลุ่มส่วนราชการ 4 ส่วน คือ ส่วนบัญชาการ ส่วนกำลังรบ ส่วนยุทธบริการ และส่วนการศึกษา

1 เมษายน พ.ศ. 2552 ได้มีการจัดส่วนราชการใหม่ตามพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการและกำหนดหน้าที่ของส่วนราชการกองทัพเรือ กองทัพไทย กระทรวงกลาโหม พ.ศ. 2552.[3] โดยแบ่งส่วนราชการออกเป็น 36 หน่วย และจัดเป็นกลุ่มส่วนราชการ 4 ส่วน คือ ส่วนบัญชาการ ส่วนกำลังรบ ส่วนยุทธบริการ และส่วนการศึกษาและวิจัย ทั้งนี้มีการเปลี่ยนแปลงดังนี้ คือ ในส่วนบัญชาการ ได้เปลี่ยนชื่อกรมสื่อสารทหารเรือเป็นกรมการสื่อสารและเทคโนโลยีสารสนเทศทหารเรือ และสำนักงานตรวจบัญชีทหารเรือเป็นสำนักงานตรวจสอบภายในทหารเรือ รวมทั้งจัดตั้งส่วนราชการใหม่เพิ่มเติม คือ สำนักงานจัดหายุทโธปกรณ์ทหารเรือ และสำนักงานพระธรรมนูญทหารเรือ ในส่วนกำลังรบ ได้ยุบกองเรือป้องกันฝั่ง และจัดตั้งส่วนราชการใหม่ คือ ทัพเรือภาคที่ 1 2 และ 3 รวมทั้งปรับลดฐานทัพเรือสงขลาและพังงาจากหน่วยขึ้นตรงกองทัพเรือไปเป็นหน่วยขึ้นตรงทัพเรือภาคที่ 2 และ 3 ตามลำดับ ในส่วนยุทธบริการ ได้ย้ายสำนักงานวิจัยและพัฒนาการทางทหารกองทัพเรือไปอยู่ในส่วนการศึกษาและวิจัยแทน และให้กรมอุทกศาสตร์มาอยู่ในส่วนยุทธบริการ สำหรับในส่วนการศึกษาและวิจัย ได้มีการยุบสถาบันวิชาการทหารเรือชั้นสูง

[แก้] โครงสร้างหน่วยงาน


ส่วนบัญชาการ ส่วนกำลังรบ ส่วนยุทธบริการ ส่วนการศึกษาและวิจัย

[แก้] กำลังพล


  • กำลังพลหลักมีดังต่อไปนี้ คือ
    • ทหารประจำการ หมายความว่า ทหารซึ่งรับราชการตามที่กระทรวงกลาโหมกำหนดซึ่งไม่ใช่ทหารกองประจำการ[4] หรือ หมายถึง ข้าราชการทหาร ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการทหาร พ.ศ. 2521[5]มีดังต่อไปนี้
      • นายทหารสัญญาบัตรประจำการ หมายถึง นายทหารสัญญาบัตรซึี่งมีตำแหน่งราชการประจำในกระทรวงกลาโหม โดยสำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนนายเรือ มีหน้าที่ผลิตนายทหารชั้นสัญญาบัตร ซึ่งจะได้จากนักเรียนเตรียมทหารในส่วนของกองทัพเรือ ที่เมื่อจบหลักสูตร 3 ปีจากโรงเรียนเตรียมทหารแล้ว (วิทยฐานะ ม.6) จะเข้าศึกษาต่อในโรงเรียนนายเรือเป็นเวลา 4 ปี โดยในระหว่างนั้นจะมีการให้นักเรียนนายเรือเลือกพรรคและเหล่าที่ต้องการ เมื่อจบหลักสูตรแล้ว (วิทยฐานะปริญญาตรี) จะได้รับการแต่งตั้งยศเป็น “ว่าที่เรือตรี” และบรรจุเป็นข้าราชการทหาร สามารถปฏิบัติงานตามพรรคและเหล่าที่เลือกได้ทันที (จากนั้นจะได้รับพระราชทานกระบี่และพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ พระราชทานยศทหารเป็น เรือตรี) นายทหารพรรคนาวินถือเป็นกำลังพลหลักที่จะได้ปฏิบัติงานในหน่วยต่างๆ ของกองเรือยุทธการ โดยเฉพาะการประจำในเรือรบของกองเรือต่างๆ แต่ทั้งนี้นายทหารจะต้องผ่านหลักสูตรการฝึกสั้นๆ ที่กองการฝึก กองเรือยุทธการ (กฝร.) ก่อนปฏิบัติงานจริงๆ นอกจากนี้ยังเป็นกำลังพลในหน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่งด้วย สำหรับนายทหารพรรคกลินก็จะคล้ายกันเพียงแต่มีจำนวนน้อยกว่า ส่วนนายทหารพรรคนาวิกโยธินก็จะเป็นกำลังพลหลักสำหรับหน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน หรือ นายทหารสัญญาบัตรสายแพทย์และพยาบาล ซึ่งสำเร็จการศึกษาจากวิทยาลัยแพทย์ศาสตร์พระมงกุฎเกล้า (สมทบ), วิทยาลัยพยาบาลกองทัพเรือ ผลิตนายทหารสัญญาบัตรเหล่าแพทย์ หรือ บุคคลพลเรือนซึ่งมีคุณวุฒิปริญญาตรีหรือเทียบเท่าขึ้นไปสมัครสอบคัดเลือกและได้รับการบรรจุเป็นนายทหารสัญญาบัตรพรรคพิเศษ
      • นายทหารประทวนประจำการ หมายถึง นายทหารประทวนซึ่งมีตำแหน่งราชการในกระทรวงกลาโหม โดยสำเร็จการศึกษาจาก โรงเรียนชุมพลทหารเรือ มีหน้าที่ผลิตนายทหารชั้นประทวน พรรคนาวิน เหล่าสามัญ การปืน สรรพาวุธ และพรรคกลิน หรือ โรงเรียนสายวิชาชีพเฉพาะทาง เช่น โรงเรียนพยาบาลทหารเรือ ผลิตนายทหารประทวนสายพยาบาล โรงเรียนนาวิกโยธิน โรงเรียนพลาธิการ โรงเรียนไฟฟ้าและสื่อสาร โรงเรียนขนส่ง และโรงเรียนดุริยางค์ทหารเรือ หรือ บุคคลพลเรือนซึ่งมีคุณวุฒิต่ำกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่าสมัครสอบคัดเลือกและได้รับการบรรจุเป็นนายทหารประทวนพรรคพิเศษ
    • ทหารกองประจำการ หมายความว่า ผู้ซึ่งขึ้นทะเบียนกองประจำการ และได้เข้ารับราชการในกองประจำการจนกว่าจะได้ปลด (มาตรา 4 (3) แห่งพระราชบัญญัติรับราชการทหาร พ.ศ. 2497)
  • กำลังพลสำรองหมายถึง กำลังที่มิใช่กำลังประจำการและกำลังกองประจำการ (ที่ปลดเป็นกองหนุนแล้ว) เตรียมไว้สำหรับใช้ในยามสงคราม, ยามประกาศกฎอัยการศึก, ยามภาวะฉุกเฉินหรือในยามปฏิบัติการด้วยกำลังทหารขนาดใหญ่ เพื่อปกป้องคุ้มครองรักษาเอกราช และอธิปไตยของชาติ เพื่อปราบปรามคอมมิวนิสต์ หรือเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อย และความมั่นคงภายในประเทศ (หน้า 58-59 หนังสือคู่มือนักศึกษาวิชาทหารชั้นปีที่ 3) ซึ่งประกอบด้วยกำลังต่าง ๆ ดังนี้
    • นายทหารสัญญาบัตรนอกกอง หมายถึง นายทหารสัญญาบัตรซึ่งไม่มีตำแหน่งราชการประจำในกระทรวงกลาโหม และกระทรวงกลาโหมสั่งให้เป็นนายทหารสัญญาบัตรประเภทนี้ (โอนไปรับราชการในกระทรวงอื่น)
    • นายทหารสัญญาบัตรกองหนุน หมายถึง นายทหารสัญญาบัตรซึ่งไม่มีตำแหน่งราชการประจำในกระทรวงกลาโหม และกระทรวงกลาโหมสั่งให้เป็นนายทหารสัญญาบัตรประเภทนี้ (ผู้ที่เคยเป็นนายทหารสัญญาบัตรประจำการและได้ลาออกจากราชการทหารไปแล้ว (มีเบี้ยหวัด) หรือ นายทหารสัญญาบัตรที่สำเร็จการฝึกวิชาทหารตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการฝึกวิชาทหาร (ไม่มีเบี้ยหวัด)) คือ นักศึกษาวิชาทหาร ที่สำเร็จชั้นปีที่ 5 ในส่วนของกองทัพเรือ และได้รับการแต่งตั้งยศทหารเป็น ว่าที่เรือตรี (แล้วปลดเป็นนายทหารกองหนุน) ซึ่งเป็นกำลังพลสำรองระดับชั้นสัญญาบัตรที่กองทัพเรือได้ผลิตขึ้นโดยรับสมัครผู้มีคุณสมบัติที่กำหนดตามระเบียบของกระทรวงกลาโหม และกฎกระทรวงออกตามความในพระราชบัญญัติส่งเสริมการฝึกวิชาทหาร กองทัพเรือจึงได้อนุมัติจัดตั้งกองการกำลังพลสำรอง สังกัดกรมกำลังพลทหารเรือ เพื่อทำหน้าที่ในการพัฒนาและผลิตกำลังพลสำรองของกองทัพเรือให้เกิดเป็นรูปธรรม เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลและกระทรวงกลาโหม ในแผนแม่บทการพัฒนาระบบกำลังสำรองของกองบัญชาการกองทัพไทย เมื่อสำเร็จตามหลักสูตรแล้วปลดเป็นกองหนุน โดยกำหนดช่วงอายุเป็นเกณฑ์ คือ

ยศ (ว่าที่) ร.ต.- ร.อ. อายุไม่เกิน 45 ปี

ยศ (ว่าที่) น.ต.- น.ท. อายุไม่เกิน 50 ปี

ยศ (ว่าที่) น.อ. – นายพล อายุไม่เกิน 55 ปี

เมื่อครบกำหนดช่วงอายุตามชั้นยศแล้ว จะปลดเป็น นายทหารสัญญาบัตรนอกราชการ และ นายทหารสัญญาบัตรพ้นราชการ ไปตามลำดับ

    • นายทหารสัญญาบัตรนอกราชการ หมายถึง นายทหารสัญญาบัตรซึ่งไม่มีตำแหน่งราชการประจำในกระทรวงกลาโหม และกระทรวงกลาโหมสั่งให้เป็นนายทหารสัญญาบัตรประเภทนี้ โดยถืออายุไม่เกินกำหนด คือ

ยศ (ว่าที่) ร.ต.- ร.อ. อายุไม่เกิน 55 ปี

ยศ (ว่าที่) น.ต.- น.ท. อายุไม่เกิน 60 ปี

ยศ (ว่าที่) น.อ. – นายพล อายุไม่เกิน 65 ปี

    • นายทหารสัญญาบัตรพ้นราชการ หมายถึง นายทหารสัญญาบัตรซึ่งไม่มีตำแหน่งราชการประจำในกระทรวงกลาโหม และกระทรวงกลาโหมสั่งให้เป็นนายทหารสัญญาบัตรประเภทนี้ โดยถูกปลดและถูกถอดยศ หรือ มีอายุพ้นเกณฑ์นายทหารสัญญาบัตรนอกราชการ คือ

ยศ (ว่าที่) ร.ต.- ร.อ. อายุเกิน 55 ปี

ยศ (ว่าที่) น.ต.- น.ท. อายุเกิน 60 ปี

ยศ (ว่าที่) น.อ. – นายพล อายุเกิน 65 ปี

    • นายทหารประทวนกองหนุน หมายถึง นายทหารประทวนที่ปลดจากประจำการ (ลาออกจากราชการทหาร) แต่ยังอยู่ในชั้นกองหนุน หรือ นักศึกษาวิชาทหารซึ่งสำเร็จการฝึกวิชาทหารตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการฝึกวิชาทหาร (นักศึกษาวิชาทหารที่สำเร็จการฝึกวิชาทหารชั้นปีที่ 3) และได้ขึ้นทะเบียนกองประจำการแล้วปลดเป็นทหารกองหนุนตามพระราชบัญญัติรับราชการทหาร พ.ศ.2497 และได้รับการแต่งตั้งยศเป็นนายทหารประทวน ซึ่งยังอยู่ในชั้นกองหนุน ดังนั้น การฝึกนักศึกษาวิชาทหารชั้นปีที่ 1 ในส่วนของกองทัพเรือจึงเริ่มขึ้นเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2552 ณ ศูนย์ฝึกนักศึกษาวิชาทหาร ศูนย์ฝึกทหารใหม่ กรมยุทธศึกษาทหารเรือ อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี โดยผู้ที่จะเข้าเป็นนักศึกษาวิชาทหารในส่วนของกองทัพเรือนั้น จะต้องมีภูมิลำเนาอยู่ในจังหวัดชายฝั่งทะเลตะวันออกเท่านั้น(ชลบุรี,ระยอง,จันทบุรี และ ตราด) ซึ่งระเบียบการนี้จะมีผลเข้มงวดมากขึ้น ทั้งนี้ก็เพราะต้องการกำลังพลที่อาศัยอยู่ภูมิลำเนาขั้นต้น และมีความเข้าใจถึง ภูมิประเทศ สังคม และวัฒนธรรมท้องถิ่น
    • นายทหารประทวนพ้นราชการ หมายถึง นายทหารประทวนซึ่งอยู่ในชั้นกองหนุนครบ 23 ปี นับจากวันปลดจากกองประจำการ
    • พลทหารกองหนุน และ จ.ต.กองประจำการ กองหนุน หมายถึง ทหารที่ปลดจากกองประจำการโดยรับราชการในกองประจำการจนครบกำหนดตามพระราชบัญญัติรับราชการทหาร พ.ศ. 2497 หรือ ทหารที่ปลดจากกองประจำการโดยรับราชการในกองประจำการยังไม่ครบกำหนด แต่ต้องจำขัง หรือมีโทษจำคุกกำหนดวันที่ต้องลงทัณฑ์ หรือต้องโทษรวมได้ไม่น้อยกว่า 1 ปีหรือทหารกองประจำการผู้ใด ซึ่งกระทรวงกลาโหมเห็นว่าจะกระทำการเสื่อมเสียให้แก่ราชการทหารด้วยประการใด ๆ แล้วปลดเป็นทหารกองหนุนประเภทที่ 2 ก็ได้ หรือ ทหารกองเกินซึ่งมีอายุครบ 30 ปีบริบูรณ์ เป็นทหารกองหนุนประเภทที่ 2 หรือ นักศึกษาวิชาทหารซึ่งสำเร็จการฝึกวิชาทหารตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการฝึกวิชาทหารและได้ขึ้นทะเบียนกองประจำการแล้วปลดเป็นทหารกองหนุนตามพระราชบัญญัติรับราชการทหาร พ.ศ.2497 และยังไม่ได้รับการแต่งตั้งเป็นนายทหารประทวน
    • พลทหารพ้นราชการ หมายถึง ทหารกองหนุนประเภทที่ 1 ซึ่งอยู่ในชั้นกองหนุนครบ 23 ปี นับจากวันปลดจากกองประจำการ หรือ ทหารกองหนุนประเภทที่ 2 ที่มีอายุครบ 46 ปี บริบูรณ์ หรือ พลทหารกองประจำการที่พิการทุพพลภาพหรือมีโรคซึ่งไม่สามารถรับราชการทหารได้ หรือ ทหารกองหนุนที่พิการทุพพลภาพหรือมีโรคซึ่งไม่สามารถรับราชการทหารได้ หรือ ทหารกองเกินที่พิการทุพพลภาพหรือมีโรคซึ่งไม่สามารถรับราชการทหารได้
    • ที่มา  http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%81%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%97%E0%B8%B1%E0%B8%9E%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2

ลิ้นจี่

ลิ้นจี่ เป็นชื่อของผลไม้ประเภทผลเดี่ยวซึ่งมีลักษณะเปลือกสีแดงชนิดหนึ่งที่อยู่ในวงศ์ SAPINDACEAE (ซึ่งก็คือวงศ์เดียวกับเงาะและลำไยนั้นเอง) ลิ้นจี่นั้นเป็นผลไม้ที่มีรสชาติอร่อยให้ผลผลิตคุ้มค่ากับการลงทุนจึงถือว่าเป็นผลไม้ทางเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศไทยที่สามารถนำผลผลิตที่ได้มาจำหน่ายในรูปของผลไม้สดและผลไม้แปรรูป ปัจจุบันนี้ลิ้นจี่ได้รับการพัฒนาสายพันธุ์ให้มีความหลากหลายขึ้นเรื่อยๆจากสายพันธุ์ดั้งเดิมที่มีอยู่แล้ว

ลิ้นจี่ถูกกล่าวถึงในประวัติศาสตร์จีนในสมัยราชวงศ์ถัง โดยเป็นผลไม้โปรดของหยางกุ้ยเฟย พระสนมของจักรพรรดิถังเสวียนจง ทรงบัญชาให้ทหารม้านำลิ้นจี่จากแหล่งปลูกทางตอนใต้ของจีน เดิินทางข้ามวันข้ามคืนมาถวายที่ปักกิ่ง

 

 

           ลิ้นจี่ Litchi chinensis Sonn.
           ชื่ออื่น Lychee  ลี่จือ (จีน) Alupag (ฟิลิปปินส์) เป็นพืชชนิดเดียวของจีนัส Litchi ในวงศ์ Sapindacese
           ลิ้นจี่เป็นไม้เขตร้อนมีต้นกำเนิดที่ประเทศจีนตอนใต้ ไปถึงทางใต้ของประเทศอินโดนีเซียและทางตะวันออกของหมู่เกาะฟิลิปปินส์  ปัจจุบันมีการปลูกลิ้นจี่ทางตอนใต้ประเทศสหรัฐอเมริกาด้วย

           ชื่อลิ้นจี่ในภาษาจีนมีความหมายว่า ” ของขวัญเพื่อชีวิตที่เบิกบาน” ปัจจุบันเป็น “ผลไม้แห่งห้วงรัก” ของจีน

ลักษณะทั่วไป

           ลิ้นจี่เป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดกลางมีความสูงประมาณ ๑๑-๑๒ เมตร แตกกิ่งก้าน บริเวณยอดกลม
ใบ 
เป็นใบประกอบคล้ายขนนก ใบหนา รูปใบรี ขอบใบขนาน ลักษณะคล้ายหอก ปลายใบแหลม ใบดกหนาทึบ ผิวใบมัน
ดอก 
ออกดอกเป็นช่อ  ดอกย่อยมีขนาดเล็ก
ผล
  รูปร่างกลมรี ผิวผลคล้ายหนังขรุขระสากมือ คล้ายมีหนามขนาดเล็ก ผลอ่อนมีสีเขียว ผลแก่จัดมีสีแดงและแดงคล้ำตามลำดับ เนื้อในสีขาว มีรสหวานอมเปรี้ยว เมล็ดเดี่ยวมีสีน้ำตาลแดงแข็ง
ส่วนที่ใช้
  เนื้อผล เปลือกผล เมล็ด เปลือกต้น ราก

           ประเทศจีนและแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กินเนื้อผลสุก เนื้อผลตากแห้ง หรือเนื้อผลลิ้นจี่บรรจุกระป๋อง
           ราวร้อยกว่าปีมาแล้วประเทศจีนดองลิ้นจี่ทั้งเปลือก ในน้ำเกลือบรรจุไหส่งเป็นสินค้าออกไปกับเรือเดินสมุทร มาขายในประเทศไทย กว่าจะมาถึงก็เริ่มเปลี่ยนสภาพเป็นเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แล้ว
           ประเทศไทยกินลิ้นจี่สด ลิ้นจี่กระป๋อง นำลิ้นจี่มาทำเป็นเครื่องดื่ม ไอศกรีม และใช้ประกอบอาหารคาวบ้างเพียงเล็กน้อยเท่านั้น   ซีกโลกตะวันตกและสหรัฐอเมริกากินลิ้นจี่เป็นส่วนประกอบของอาหารจานเนื้อสัตว์ ลิ้นจี่เป็นผลไม้มีรสอ่อนจึงเข้าได้กับทั้งเป็ด ไก่ หมู แฮม ปลา และอาหารทะเลอื่นๆ ปรุงเป็นเครื่องดื่ม กวนแยม ใส่ใน  สลัด ทำไอศกรีม ปรุงอาหารเบเกอรี่ เข้าในเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เช่น ลิ้นจี่มาร์ตินี่ ปรุงเป็นลูกกวาดและ ขนมหวานต่างๆ นอกจากนี้ ที่จีนยังใช้ลิ้นจี่แห้งเพิ่มความหวานให้ชาแทนการเติมน้ำตาล

คุณค่าทางอาหาร
           ลิ้นจี่เป็นผลไม้ที่มีรสหวานอมเปรี้ยว มีกลิ่นหอมหวานชวนกิน คนไทยกินผลสด และนำลิ้นจี่มาทำเป็นน้ำผลไม้ดื่มแก้กระหายน้ำ  รสชาติหอมหวานชื่นฉ่ำใจ

           ลิ้นจี่เป็นผลไม้ที่อุดมไปด้วยวิตามิน และน้ำตาล มีน้ำมันหอมระเหย และมีกรดอินทรีย์บางชนิด วิตามิน  บี 1 ในลิ้นจี่ช่วยป้องกันโรคเหน็บชา วิตามินบี 2 ช่วยให้ ร่างกายเจริญเติบโตป้องกันไขมันอุดตันหลอดเลือด แคลเซียมเสริมสร้างกระดูกให้แข็งแรง อีกทั้งยังมีไนอะซีน ช่วยเปลี่ยนน้ำตาลและไขมันให้เป็นพลังงานช่วยระบบย่อยอาหาร

           ลิ้นจี่เป็นผลไม้ที่เหมาะสมกับการรักษารูปร่าง ลิ้นจี่ 1 ถ้วย (6 ผล ไม่แกะเมล็ดออก) ให้พลังงานเพียง 125  แคลอรี มีไขมันน้อยกว่า 1 กรัม ลิ้นจี่มีวิตามินบี 2 โพแทสเซียม และมีวิตามินซีสูงมาก กินลิ้นจี่เพียงวันละ 3 ผลก็ได้วิตามินซีครบถ้วนตามความต้องการใน 1 วัน เนื่องจากวิตามินซีเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่สำคัญ ช่วยบำรุงหลอดเลือด กระดูกและฟัน ในฤดูลิ้นจี่จึงควรกินลิ้นจี่แทนวิตามินซีสังเคราะห์สักระยะหนึ่ง

           เนื้อในผล  กินเป็นยาบำรุง แก้อาการไอเรื้อรัง แก้อาการคัดจมูก รักษาอาการท้องเดิน  ลดกรดในกระ-เพาะอาหาร และบรรเทาอาการไม่ปกติของระบบทางเดินอาหาร
           ประเทศจีนใช้ชาเปลือก ลิ้นจี่บรรเทาอาการหวัด แก้การติดเชื้อในลำคอ อาการท้องเสียอย่างอ่อน และโรคจากการติดเชื้อไวรัส เมล็ดมีฤทธิ์แก้ปวดบวม โดยใช้บดเป็นผงชงน้ำดื่ม หรือใช้พอกบริเวณมีอาการ ชาต้มรากลิ้นจี่หรือเปลือกต้นใช้แก้อาการติดเชื้อ ไวรัส อีสุกอีใส และเพิ่มความสามารถระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ลิ้นจี่มีปริมาณเส้นใยอาหารสูง มีปริมาณพลังงาน ต่ำ และเชื่อกันว่ามีคุณสมบัติช่วยเผาผลาญสารอาหารในร่างกายอย่างมีประสิทธิภาพ  ปัจจุบันจึงมีการกล่าวอ้างถึงสรรพคุณลิ้นจี่ในผลิตภัณฑ์ช่วยควบคุมอาหารและ ลดน้ำหนัก แต่ไม่พบที่มาของสรรพคุณในการเผาผลาญสารอาหารดังกล่าว

ลิ้นจี่ต้านมะเร็งเต้านม

           เนื้อลิ้นจี่และเปลือกลิ้นจี่มีสารฟลาโวนอยด์หลายชนิด งานวิจัยจากประเทศจีน 2 ชิ้นพบว่าส่วนเพอริคาร์พ (เปลือกและเนื้อผล) ของลิ้นจี่มีสารกลุ่มฟลาโวนอลที่สำคัญคือ โพรไซยาไนดินบี 4 ไพรไซยา- ไนดินบี 2 และอีพิคาเทชิน ส่วนแอนโทไซยานินที่สำคัญคือ ไซยาไนดิน3-  รูตินโนไซด์ ไซยาไนดิน-3กลูโคไซด์ เควอเซทิน-3- รูติโนไซด์ และเควอเซทิน-3-กลูโคไซด์ สารเหล่านี้แสดงฤทธิ์ต้านออกซิเดชั่นที่ดี โดยในกลุ่มฟลาโวนอลพบว่าโพรไซยาไนดินบี 2 กำจัดไฮดรอกซี่เรดิคัลและซูปเปอร์-ออกไซด์แอนอิออนได้ดีที่สุด
           ส่วนโพรไซยาไนดินบี 4 โปรไซยาไนดินบี 2 และอีพิคาเทชินมีฤทธิ์ต้านเซลล์มะเร็งชนิดอื่นๆ อีก และมีพิษต่อเซลล์ปกติน้อยกว่ายาพาซิทาเซลที่ใช้ในปัจจุบัน

           นอกจากนี้ มีรายงานว่าสารสกัดเพอริคาร์พของลิ้นจี่มีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญของเซลล์ มะเร็งเต้านม ทั้งในห้องทดลองและในสัตว์ทดลอง โดยยับยั้งการขยายจำนวนเซลล์ การควบคุมการสื่อสารระหว่างเซลล์มะเร็ง การสร้าง mRNA และเหนี่ยวนำให้เกิดการตายของเซลล์มะเร็งดังกล่าวแบบอะป๊อบโทซิสในระดับยีน และยับยั้งผลต่อเนื่องในการแทรกตัว การยึดเกาะพื้นผิวของเซลล์มะเร็ง พบว่าขนาดของก้อนมะเร็งเต้านมในหนูทดลองลดลงร้อยละ 41 เมื่อได้รับสารสกัดเอทานอล ของเพอริคาร์พของลิ้นจี่ ปัจจุบันอยู่ในระหว่างการพิจารณาผลิตเป็นอาหารเสริมให้กับผู้ป่วยมะเร็ง

           งานวิจัยอีกชิ้นจากประเทศจีนรายงานว่า สารสกัดจากลิ้นจี่ยับยั้งการเจริญของเซลล์มะเร็งของผู้ป่วยที่เมืองเฉิงตู มณฑลเสฉวน สาธารณรัฐประชาชนจีน รายงานจากสหรัฐอเมริกาพบว่าสารสกัดลิ้นจี่ลดขนาดเนื้องอกในสัตว์ทดลอง

 

 

           มีรายงานว่าสารสำคัญในลิ้นจี่ดูดซึมได้ยาก ที่ประเทศญี่ปุ่นจึงผลิตสารสำคัญให้มีขนาดเล็กลง (ความลับทางการค้า) เพื่อจำหน่ายเป็นผลิตภัณฑ์เสริมสุขภาพ แต่วันนี้จะขอแนะนำรายการเพิ่มการดูดซึมของสารสำคัญ ทำได้ง่ายๆ คือนำลิ้นจี่ไปปรุงอาหารกับอะไรที่มีไขมันนิดหน่อยจะทำให้ดูดซึมเข้าสู่ร่าง กายได้ดีขึ้น

           ลองสูตรโคลล์สลอว์จากอินเทอร์เน็ตเผื่อเด็กในบ้านจะติดใจ ได้ทั้งผักได้ทั้งลิ้นจี่ค่ะ

 

ประโยชน์ที่ได้รับ  ได้รู้จัสับพคุรของลิ้นจี่

ที่มา  http://www.vcharkarn.com/varticle/39873

แอปเปิล

แอปเปิล (อังกฤษ: apple; ชื่อวิทยาศาสตร์: Malus domestica) เป็นผลไม้ในตระกูล Rosaceae แอปเปิลเป็นผลไม้ที่นิยมมากที่สุดชนิดหนึ่งในโลก เป็นไม้ผลเมืองหนาว มีต้นกำเนิดในบริเวณประเทศอิหร่านในปัจจุบัน จากนั้นจึงกระจายพันธุ์ไปยังเทือกเขาคอเคซัสและลุ่มแม่น้ำไทกริส-ยูเฟรติส แล้วแพร่หลายต่อไปในทวีปยุโรป ทวีปอเมริกา และดินแดนอื่นทั่วโลก ในประเทศไทยปลูกได้ในพื้นที่ภาคเหนือ เช่นที่ดอยอ่างขาง

ต้นแอปเปิลจะสูงประมาณ 5-12 เมตร เป็นไม้เนื้อแข็ง ใบเขียวเข้มเป็นมัน ขอบหยัก ดอกออกเป็นกลุ่มสีขาวอมชมพู ผลกลมรี มีรอยบุ๋มทั้งขั้วผลและท้ายผล ผลแอปเปิลมีเปลือกบาง สีแดง เขียว และเหลืองตามสายพันธ์ เนื้อในเป็นเหมือนทรายละเอียดสีเหลืองนวล เมล็ดมีขนาดเล็ก สีดำ

แอปเปิลใช้รับประทานเป็นผลไม้สด และใช้ปรุงอาหารได้หลายชนิด เช่น สลัด ซอสแอปเปิล แยม พาย หรืออบแห้ง ในไทยใช้ผลแอปเปิลเปรี้ยวมาทำอาหาร เช่น ใส่ในยำ น้ำพริก ทางยามีสรรพคุณลดกรดในกระเพาะอาหาร ละลายเสมหะ ลดความดันโลหิต ช่วยขับเกลือโซเดียมส่วนเกินออกจากร่างกาย มีฤทธิ์เป็นยาระบาย

ชาวกรีกและโรมันเชื่อว่าแอปเปิลเป็นผลไม้แห่งความรักและความสวยงาม ในไบเบิลกล่าวถึงแอปเปิลว่าเป็นผลไม้ต้องห้ามในสวนอีเดนเป็นตัวแทนของบาป ในตำนานกรีก แอปเปิลเป็นผลไม้ต้องห้ามของ Hesperides [1][2][3]

ท่าโยคะลดน้ำหนัก

Obesity Therapy เป็นโยคะแบบประยุกต์เพื่อให้ลดสัดส่วน ซึ่ง คุณครูแฮ้งค์-ปรีชา พุฒทอง ได้ทำการศึกษาและทดลองมานานกว่า 3 ปี จนได้รับลิขสิทธ์และการการันตีว่าช่วยลดไขมัน 6 จุดในร่างกาย กับ 6 ท่าโยคะลดน้ำหนัก

 

ช่วยกระตุ้นการไหลเวียนโลหิต ช่วยให้กล้ามเนื้อแข็งแรง ข้อต่อยืดหยุ่น ลดอาการเมื่อยล้า สร้างสมดุลให้ร่างกายและจิตใจรวมถึงพัฒนาทักษะในการควบคุมการใช้อวัยวะ ให้รู้ถึงจังหวะการหายใจ และสอนให้รู้สึกตัวในขณะปฏิบัติ โดยทั้ง 6 ท่าโยคะลดน้ำหนัก นี้จะเป็นท่าพื้นฐานใน 35 ท่าโยคะ Obesity Therapy ที่ทำง่ายและได้ผลดี

 

 

6 ท่าโยคะลดน้ำหนัก ได้แก่

 

1.ท่าหน้าวัวประยุกต์

A. ยืนตัวตรงเท้าชิดติดกัน มือขวาจับปลายผ้าขนหนูข้างหนึ่ง ยกแขนขวาขึ้นแล้วงอข้อศอกลงไปด้านหลังศีรษะ แขนซ้ายแนบติดลำตัวงอแขนไว้ด้านหลังขนานกับช่วงเอว จับปลายผ้าขนหนูอีกข้าง

B. หายใจเข้า มือขวาออกแรงดึงผ้าขนหนูขึ้นให้แขนขวาชิดใบหู

C. หายใจออก มือซ้ายดึงผ้าขนหนูลงจนแขนซ้ายตึง ระวังอย่าให้แขนซ้ายแยกออกจากลำตัว และต้องดึงผ้าให้ตึงตลอด ทำต่อเนื่องจนครบ 10 ครั้ง ครั้งที่11 ลดแขนทั้งสองให้ขนานกันดังภาพแล้วออกแรงดึงผ้าให้ตึง ปล่อยแขนลงผ่อนคลาย ทำซ้ำอีกข้าง ท่านี้จะช่วยลดไขมันส่วนเกินบริเวณท้องแขนได้เป็นอย่างดี Happy

2. ท่าเรือกลไฟ

A. ยืนตัวตรงกางขาออกกว้างเป็น 3 เท่าของช่วงไหล่ ขาเหยียดตรงเปิดปลายเท้าขวาให้ตั้งฉากกับลำตัว หายใจเข้า หงายฝ่ามือยกแขนทั้ง 2 ข้างขึ้นขนานกับพื้น หายใจออก หมุนตัวมาทางขวามือ 90 องศา

B. หายใจเข้าประสานมือดันนิ้วชี้ขึ้นเหนือศีรษะ ยืดแขนให้ตึง หายใจออก งอเข่าขวาให้ตั้งฉากไม่เกินนิ้วโป้งเท้า

C. หายใจเข้า เกรงขายืดแขนให้ตึง หายใจออก ยืดตัวตรง แขม่วท้อง

D. หายใจเข้า เกร็งขายืดตรง กลับไปท่าเริ่มต้น ทำแบบนี้ข้างละ 3 ครั้ง ท่านี้จะช่วยลดไขมันท้องแขน และสะโพก ได้บริหารปีกสะบักกลางหลัง และกล้ามเนื้อต้นขา

 

 

ท่าโยคะ ทุกส่วน

 

 

3. ท่าบิดลำตัว

A. นั่งหลังตรง ใช้ขาซ้ายไขว้ขาขวา ปลายเท้าขวาวางข้างสะโพก อกชิดติดเข่า แขนซ้ายกอดหัวเข่าขวา

B. หายใจเข้าให้ลึก วาดแขนขวาไปทางด้านหลังวางไว้ที่เอว หายใจออก แขม่วท้องบิดเอวหันหน้าไปทางด้านหลัง หายใจเข้าหันหน้ากลับท่าเริ่มต้น ทำ 3 รอบแล้วเปลี่ยนข้าง ท่านี้จะช่วยลดเอว หน้าท้อง ต้นขา ปีกสะบัก และแนวขอบอก

4. ท่ายืดส่วนหลัง

นั่งหลัง ตรง ยืดขาทั้งสองข้างไปด้านหน้าเกร็งปลายเท้าให้ตั้งฉาก หายใจ เข้ายกแขนทั้งสองข้างเหนือศีรษะ หายใจออก คว่ำมือแล้วค่อยๆ ก้มตัวลง เกร็งกล้ามเนื้อบริเวณช่วงเอว แล้วใช้นิ้วชี้เกี่ยวนิ้วโป้งเท้า ค่อยๆ ก้มตัวลงอีก งอศอกเล็กน้อยค้างไว้ประมาณครึ่งนาที (สำหรับคนที่ไม่สามารถเกี่ยวนิ้วได้ อย่าฝืน ให้จับบริเวณใต้เข่าและก้มตัวเท่าที่ทำได้) ยืดตัวขึ้นช้าๆ ท่านี้จะช่วยกระตุ้นการขับถ่าย บริหารกล้ามเนื้อส่วนหลัง และต้นขา

 

5. ท่าสะพาน

A. หายใจเข้านอนหงายขนานกับพื้น งอขาชันเข่า เอามือจับที่ส้นเท้า เกร็งหัวเข่ากดคางกับหน้าอก

B. หายใจเข้า ยกสะโพกขึ้นเท่าที่ทำได้ (ใช้มือค้ำที่เอวได้) หายใจออก หายใจเข้า เกร็งกล้ามเนื้อต้นขาและสะโพก หายใจออก ค่อยๆ วางตัวลงกับพื้น ทำ 4 ครั้ง ท่านี้จะช่วยลดไขมันหน้าท้อง ต้นขา และบริหารกล้ามเนื้อหลัง


6. ท่าศพ

นอนเหยียด ขา กระดกปลายเท้า เกร็งเท้า เข่า ต้นขา สะโพก ขมิบก้น เกร็งส่วนคอ กำหมัดแล้วเกร็ง โดยเกร็งส่วนละ 2 วินาที แล้วปล่อยให้ผ่อนคลายเป็นท่าจบและนอนพัก การเกร็งส่วนต่างๆ จะช่วยให้กล้ามเนื้อผ่อนคลาย
ที่มา   http://www.n3k.in.th/%E0%B8%A5%E0%B8%94%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%AD%E0%B9%89%E0%B8%A7%E0%B8%99/%E0%B8%97%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B9%82%E0%B8%A2%E0%B8%84%E0%B8%B0%E0%B8%A5%E0%B8%94%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B3%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B8%81

20 ไอเดียง่ายๆ ที่ช่วยคุณ ที่ลดความอ้วนอย่างได้ผล

เราสามารถช่วยคุณได้ เพียงแค่ท่องจำให้แม่นตลอดเวลาว่าคุณต้องการมีหุ่นที่ดีทุกครั้งไม่ว่าคุณจะทำอะไร 20 อย่างต่อไปนี้ เป็นสิ่งที่คุณอาจได้ทำเป็นประจำอยู่แล้ว เพียงแต่ทำแล้วให้ผลในเรื่องของการลดน้ำหนักไปในตัว

1. อย่าปล่อยให้ปริมาณอาหารกำหนดการกินของคุณ เพราะปริมาณอาหารไม่ใช่สิ่งที่ร่างกายต้องการ ทุกมื้ออาหารควรทานให้อิ่มพอดีๆ อย่าให้ถึงกับรู้สึกอึดอัด และไม่ต้องเสียดายอาหารที่เหลือในจาน แต่ให้คิดเสียว่าอาหารที่เหลือต่อวัน คือแคลอรีที่คุณสามารถลดได้

2. หาน้ำดื่มทุกครั้งก่อนที่คุณจะหาขนมนมเนยเข้าปาก ถ้าทำได้ วิธีนี้จะช่วยคุณได้มากทีเดียว ทั้งลดความอ้วนและประหยัดค่าขนมไปในตัวด้วย

3. กฎเหล็กของการลดความอ้วนคือ การตัด ABC ออก A หมายถึง Alcohol (แอลกอฮอร์), B หมายถึง Bread (ขนมปัง) และ C carbohydrates (คาร์โบไฮเดรต)

4. ปล่อยให้ตู้เย็นโล่งสะอาดตา โดยหาเพียงสิ่งที่ทานแล้วมีประโยชน์ต่อร่างกาย หรือทานแล้วช่วยให้คุณดูสวยขึ้น เช่น หาผลไม้หรือน้ำผลไม้ประดับตู้เย็นแทนขนมเค๊ก นมพร่องไขมันเนย และน้ำแร่แช่แทนน้ำอัดลม และที่สำคัญ ควรหาภาพนางแบบหุ่นดีๆ ใส่เสื้อผ้าโชว์สัดส่วนโค้งเว้า มาติดตู้เย็นแทนแม่เหล็กที่แถมจากร้านอาหาร

5. ทานอาหารเช้าเป็นประจำ เพราะอาหารเช้าสามารถช่วยให้คุณทานอาหารมื้ออื่นๆ ได้น้อยลง

6. เคยมีผลวิจัยบอกว่า การได้ฟังดนตรีเพลงโปรด (ต้องเพลงช้าๆ นะ) นั้นเปรียบเสมือนได้รับประทานอาหารรสเยี่ยม ทีนี้เมื่อคุณเกิดอาการอยากอาหาร ให้ลองเปลี่ยนมาฟังเพลงเพราะแทน

7. เตือนความจำตัวเองด้วยการนำชุดตัวเก่งที่คุณใส่ได้เมื่อครั้งยังผอม แขวนในตู้เสื้อผ้าที่คุณสามารถเห็นได้ชัดทุกวัน เพื่อเตือนความจำให้คุณอยากกลับมาใส่ชุดนี้อีกครั้ง

8 .เมื่ออยู่ห้องแอร์เย็นๆ ให้หาน้ำขิงหรือชาเขียวดื่มแทน กาแฟ กาแฟหนึ่งถ้วย เปรียบเสมือนทานข้าวไปสองจาน น่าตกใจไหมล่ะ

9. นอนหลับพักผ่อนให้เต็มที่และเต็มตา เพราะผู้หญิงเรา หากได้นอนหลับเพียงพอ ร่างกายจะสามารถเพิ่มระบบเผาผลาญได้มากขึ้นจากปกติถึง 40% เชียวนะ

10. ก่อนเข้าซุปเปอร์มาเก็ตทุกครั้ง ควรจดรายการที่ต้องการ และซื้อตามรายการที่จด แทนการเลือกซื้อแบบตามใจฉันจะนึกออก ณ ตอนนั้น หากตั้งใจช้อปของไม่มาก แนะนำให้ถือตระกร้าแทนรถเข็น เพราะนอกจากจะช่วยให้คุณได้ออกแรงแล้ว ยังช่วยไม่ให้คุณเลือกซื้อของเกินรายการที่ต้องการอีกด้วย

11. หลีกเลี่ยงการอยู่หรือทำงานในเวลากลางคืน เนื่องจาก แสงของยามค่ำคืนและการนอนดึกจะยิ่งทำให้คุณอยากทานของจุกจิก หรือหิวระหว่างคืนได้ แต่หากคุณต้องการดูหนังในเวลากลางก็สามารถทำได้ด้วยการเปิดไฟดวงน้อย เมื่อหนังจบก็สามารถดับไฟนอนได้เลย

12. เปลี่ยนขนมจุกจิกเป็นลูกอม เพราะลูกอมมีแคลอรีเพียง 20 แคลอรี และสามารถช่วยให้คุณหายหิวได้ถึง 20 นาที

13. เติมความสดชื่นด้วยชาเขียว เพราะชาเขียวสามารถทำให้ร่างกายเผาผลาญแคลอรีได้มากขึ้น ควรหาชาเขียวมาดื่มร้อนๆ สักสามถ้วยต่อวัน

14. ทำเรื่องกินให้เป็นเรื่องใหญ่ โดยไม่ทานอาหารในขณะที่กำลังทำกิจกรรมอื่นๆ เช่น ดูทีวี อ่านหนังสือ หรือเล่นอินเทอร์เน็ต หากต้องการกิน ก็ควรนั่งกินบนโต๊ะอาหารอย่างเป็นเรื่องเป็นราว

15. หาเวลาสัก 20 นาทีต่อวัน สำหรับการเดินเล่น ชมสวน หรือนั่งเล่นท่ามกลางบรรยากาศธรรมชาติ วิธีนอกจากจะได้สูดอากาศบริสุทธิ์แล้ว ยังช่วยเผาผลาญแคลอรีต่อวันได้อีกด้วย

16. ฝึกที่จะใช้บันไดแทนลิฟ หากคุณทำงานหรือเรียนอยู่บนชั้นสูงๆ ให้ขึ้นลิฟไปถึงก่อนชั้นทำงานหรือชั้นเรียนอย่างน้อย 2 ชั้นที่เหลือให้ใช้บันไดแทน

17. ปลดปล่อยอารมณ์ให้สุดเหวี่ยงขณะขับรถ โดยการฟังเพลงแดนซ์เพลงโปรดของคุณ ร้องออกมาดังๆ แล้วขยับร่างกายตามจังหวะเพลง ไม่ต้องไปสนใจใครหรอก โดยเฉพาะหากรถยังแล่นอยู่

18. ยุ่งนัก หาเวลาออกกำลังไม่ได้ ให้หาถุงเท้าสบายๆ แล้วใส่อยู่บ้านแล้วโลดแล่นให้ทั่วพื้นบ้าน จินตนาการว่ากำลังเล่นสเก็ตอยู่ เพียง 10 นาทีก็ช่วยคุณเผาผลาญแคลอรีได้ถึง 150 แคลอรีเชียวนะ

19. หาวีดีโอหรือวีซีดีออกกำลังกายสักหนึ่งชุด แล้วเปลี่ยนห้องของคุณให้กลายเป็นเฮ็ลท์คลับส่วนตัว เปิดแอร์ได้ไม่ว่ากันค่ะ

20. เปลี่ยนนิสัยขี้เกียจ แล้วเริ่มหัดทำงานบ้านเสียบ้าง เพราะทุกสิ่งที่คุณทำล้วนเปรียบเสมือนได้ออกกำลังกายและเผาผลาญแคลอรีในตัว

ที่มา   http://campus.sanook.com/teen_zone/senior_03823.php

10 อันดับ ดอกไม้ที่สวยที่สุดในโลก

อันดับที่ 10
ดอกกุหลาบ
     ดอกกุหลาบเป็นหนึ่งในที่สุดโรแมนติกและมหัศจรรย์หอมของดอกไม้ ของดอกกุหลาบให้แพร่หลายในประเพณีและความหมายทางวัฒนธรรมจากสีเหลืองเพิ่มขึ้นของมิตรภาพเพื่อแดงเข้มเพิ่มขึ้นของความรักที่แท้จริง
 
 
 
 
อันดับที่ 9
ดอกผกากรองหรือLantana
     ดอกไม้เหล่านี้ละเอียดอ่อนที่มีกลีบดอกสีชมพูและสีเหลืองของพวกเขาจะแม่เหล็กผีเสื้อ พุ่มไม้ที่สามารถเติบโตได้มีขนาดใหญ่มากและสีของการเปลี่ยนแปลงกลีบเป็นพืชอายุ ระวัง — Lantana ถือว่าเป็นวัชพืชโดยมากมายที่ค่อนข้างยากที่จะกำจัด
 
 
อันดับที่ 8
ดอกระฆังหรือBlue Bells
     ในฤดูใบไม้ผลิป่ายุโรปจำนวนมากถูกปกคลุมด้วยพรมหนาแน่นของดอกไม้นี้เหล่านี้เป็นที่เรียกทั่วไปว่า”ไม้ดอกไม้ชนิดหนึ่ง” มันเป็นความคิดที่พวกเขาตั้งชื่อโดยกวีโรแมนติกของศตวรรษที่ 19, ผู้ที่รู้สึกว่าเหงาสัญลักษณ์และเสียใจ
 
 
 
อันดับที่ 7
ดอกโลหิตแห่งหัวใจหรือดอกหทัยหยาดทิพย์หรือBleeding Heart

 

เหตุที่เขาได้ชื่อว่า bleeding heart ก็เพราะว่า เมื่อดอกเขาผลิใหม่ ๆ ยังตูม ๆอยู่ที่ปลายแหลมของหัวใจด้านล่าง จะมีติ่งรูปร่างคล้ายหยดน้ำ มีสีแดง ๆ ดูเหมือนหยดเลือด  แต่เมื่อดอกเริ่มบาน  ตัวหยดจะเปิดออกให้เห็นใส้สีขาว ๆ อยู่ข้างใน คราวนี้จะเห็นหยดน้ำไหลออกมาจากหัวใจแทน คนเยอรมันเห็นตรงนี้เหมือนหยดน้ำตา เลยเรียกดอกนี้ว่า  Traenendes herz ดอกหัวใจเจ้าน้ำตา  ลองดูจากรูป รูปข้างบน หรือรูปข้างล่างก็ได้ ก็จะเห็นตามที่ว่านี้

 
 
อันดับที่ 6
 
ดอกซูซานตาดำหรือBlack Eyed Susan
 
ซูซานตาดำ, wildflower ร่าเริงอยู่ตลอดกาลที่ทำหน้าที่เป็นแบบเลื่อนกลับที่สวยงามในสวนใด ๆความคมชัดของสีทองสดใสกลีบดอกสีเหลืองและสีดำตรงกลางจะทำให้ง่ายต่อการใด ๆจุดหนึ่งและทราบว่าเป็น
 
 
 
อันดับที่ 5
 
 

คาลล่า ลิลลี่ หรือCalla Lily

คาลล่า ลิลลี่ (Calla Lily) เป็นพันธุ์ไม้หัว ที่มีหลากหลายสายพันธุ์ มีต้นกำเนิดในแอฟริกาใต้ สามารถแบ่งได้เป็น 2 สายพันธุ์ค่ะ คือพันธุ์ไม้ยืนต้น ที่ปลูกเพื่อเป็นไม้ตัดดอก (Cut Flower) และพันธุ์ไม้ล้มลุก ซึ่งจะมีการพักหัวในฤดูหนาว นิยมปลูกเป็นไม้กระถาง (Pot Flower) ถึงแม้คาลล่า ลิลลี่จะเป็นทางเลือกใหม่ที่คุ้มค่าสำหรับเกษตรกร ที่ต้องการปลูกเพื่อเป็นไม้ตัดดอก เนื่องจากลงทุนปลูกครั้งเดียว แต่สามารถตัดดอกขายได้ต่อเนื่องนานถึง 4- 5 ปีโดยไม่ต้องขุดหัวขั้นมาปลูกใหม่ แต่คาลล่า ลิลลี่ก็ยังมีข้อจำกัดเรื่องอุณหภูมิในการปลูก เหมาะสำหรับเกษตรกรที่อยู่บนที่สูงหรือบนดอย ที่มีอุณหภูมิที่ 18 – 24 องศาเซลเซียส

 

 

 
อันดับที่ 4
ดอกไฮเดรนเยีย

 

    ไฮเดรนเยีย(Hydrangea)เป็นไม้พุ่งสูง1-3เมตรจัดเป็นพืชหลายฤดูชอบอากาศหนาวเย็น บางชนิดเป็นไม้ยืนต้น

 

หรือไม้เลื้อยแต่ส่วนใหญ่มักเป็นไม้พุ่มเตี้ยใบเกิดแบบตรงข้ามแผ่นใบมีขนาดกว้างใหญ่ขอบใบจักช่อดอกเกิดส่วนปลายกิ่งหรือยอด

 

ลำต้นดอกประกอบด้วยใบประดับที่มีสีสวยงามแล้วแต่พันธุ์ ไฮเดรนเยียอาจผลัดใบหรือไม่ผลัดใบก็ได้แต่ถ้าเป็นชนิด

 

ที่อยู่ในเขตอบอุ่นจะผลัดใบพักตัวในฤดูหนาวดอกของไฮเดรนเยียเกิดที่ปลายยอดกิ่งหรือยอดลำต้น เป็นช่อดอกแบบช่อเชิง

 

หลั่นหรือช่อแยกแขนง(corymbsorpanicles) ช่อดอกประกอบด้วยดอกสองแบบคือกลุ่มดอกสมบูรณ์เพศซึ่งมีขนาดเล็ก

 

ที่อยู่บริเวณใจกลางช่อดอกใหญ่ ส่วนกลุ่มดอกที่มีขนาดดอกย่อยใหญ่สะดุดตานั้นความจริงเป็นดอกที่เกิดจากกลีบดอก

 

ประดับดูสะดุดตา เกิดเป็นวงรอบขอบนอกของช่อดอกใหญ่ไฮเดรนเยียบางชนิดมีช่อดอกซึ่งประกอบด้วยดอกย่อยสมบูรณ์เพศ

 

ทั้งช่อเลยก็มี ดอกไฮเดรนเยียส่วนใหญ่จะมีสีขาวเป็นหลัก แต่บางชนิด เช่น H. macrophylla อาจเป็นสีน้ำเงิน แดง

 

ชมพูหรือม่วง ซึ่งขึ้นอยู่กับระดับความเป็นกรดหรือด่างของเครื่องปลูก หากเครื่องปลูกมีสภาพเป็นกรด pH 5.0-5.5สีดอกจะออก

 

เป็นสีน้ำเงิน ถ้าสภาพเป็นด่างจะให้ดอกสีม่วงหรือชมพูถ้าปลูกในเครื่องปลูกที่สภาพเป็นกลางดอกไฮเดรนเยียจะมีสีครีมซีด

 

ทั้งนี้เพราะไฮเดรนเยียเป็นหนึ่งในบรรดาพืชไม่กี่ชนิดที่สะสมธาตุอะลูมินัม ธาตุนี้จะถูกปลดปล่อยออกมาจากเครื่องปลูก

 

ซึ่งมีฤทธิ์เป็นกรด ธาตุนี้จะทำปฏิกิริยากับสารละลายในกลีบดอกทำให้เกิดสีน้ำเงินขึ้นได้ ปกติไฮเดรนเยียต้องการดินที่เป็นกรดอ่อน

 

pH 6.0-6.5 จะเติบโตได้ดี

 

    

 

อันดับที่ 3

ดอกปักษาสวรรค์

ปักษาสวรรค์มีใบเป็นใบเดี่ยว รูปหอกแกมขอบขนาน คล้ายใบกล้วย ปลายใบแหลม โคนมนถึงสอบ ขอบเรียบกว้าง 10 – 15 ซม. ยาว 30 – 60 ซม. ก้านใบยาว 30 -60 ซม. บริเวณช่วงต่อกับแผ่นใบกลมมน โคนก้านใบแผ่แบนเป็นกาบโอบรอบต้น

จะเริ่มให้ดอกเมื่ออายุ 3 – 6 ปี ดอกมีรูปทรงคล้ายนกที่กำลังกางปีก อาจจะออกเป็นดอกเดี่ยว หรือเป็นช่อประมาณ 3 -7 ดอก ออกจากโคนกาบใบ ก้านช่อดอกกลม มีกาบรองดอกรูปเรือรองรับดอกย่อย แต่ละดอกประกอบด้วยกลีบเลี้ยงรูปหอกแคบยาว 3 กลีบ และกลีบดอกรูปหัวลูกศร 2 กลีบ ส่วนปลายกลีบห่อติดกัน มีเกสรเพศผู้และเพศเมียอยู่ภายใน ตอนปลายสุดของหัวลูกศรมียอดเกสรเพศเมียสีน้ำตาลยื่นออกมา เมื่อดอกบานเต็มที่มีความยาว 8 – 12 ซม. ทยอยบานจากโคนช่อไปปลายช่อ ผลมีรูปรี จะแห้งและแตก ภายในมีเมล็ด 3 เมล็ด รูปกลม มีเปลือกหนาสีดำ

[แก้]

canna picture
canna flower picture
canna lily picture
 
อันดับที่ 2
ดอกพุทธรักษา
 

     พุทธรักษาเป็นพรรณไม้ล้มลุก เนื้ออ่อนอวบน้ำ ลำต้นมีความสูงประมาณ 1-2 เมตร มีลำต้นอยู่ใต้ดินเรียกว่า เหง้า มีการเจริญเติบโตโดยแตกหน่อเป็นกอคล้ายกับกล้วย ลักษณะหน่อที่เจริญเป็นต้นเหนือพื้นดินนั้นมีลักษณะกลมแบนสีเขียวขนาดลำต้นโตประมาณ 2-4 เซนติเมตร ใบมีขนาดใหญ่สีเขียวโคนใบและปลายใบรีแหลม ขอบใบเรียบ กลางใบเป็นเส้นนูนเห็นได้ชัดโคนใบมีก้านใบซึ้งยาวเป็นกาบใบหุ้มลำต้นซ้อนสลับกัน ขนาดใบกว้างประมาณ 10-15 เซนติเมตร ยาวประมาณ 25-35 เซนติเมตร ออกดอกเป็นช่อตรงส่วนยอดของลำต้น ช่อดอกยาวประมาณ 15-20 เซนติเมตร ประกอบด้วยดอก 8-10 ดอก และมีกลีบดอกบางนิ่ม ขนาดของดอกและสีสรรแตกต่างกันไปตามชนิดพันธ

อันดับที่ 1 

ดอกซากุระ

ซากุระ (ภาษาญี่ปุ่น : 桜 หรือ 櫻) เป็นดอกไม้ประจำชาติของญี่ปุ่น มีถิ่นกำเนิดในจีนตอนใต้ เกาะไต้หวัน หมู่เกาะโอกินาวา ญี่ปุ่น ลักษณะเด่นของซากุระก็คือ เมื่อร่วง จะร่วงพร้อมกันหมด ซากุระจึงเป็นสัญลักษณ์ของเลือดทหารและซามูไรของญี่ปุ่น

มีดอกซากุระในเกาหลีสหรัฐอเมริกาแคนาดาจีน หรือที่อื่นๆ แต่ไม่มีกลิ่น ขณะที่ซากุระของญี่ปุ่นนั้นผู้คนจำนวนมากยกย่องชื่นชมกลิ่นของมัน และมักจะกล่าวฝากไว้ในบทกวี

ดอกซากุระของญี่ปุ่นนี้ ในภาษาอังกฤษมีคำเรียกทั่วไปว่า “cherry blooms” หรือ “cherry blossom” หรือไม่ก็ “Japanese Flowering Cherry” จะบานในช่วงปลายมีนา-ต้นเดือนเมษายน ซึ่งเป็นช่วงเริ่มต้นฤดูใบไม้ผลิ อุณหภูมิเริ่มอุ่นขึ้นจากฤดูหนาวที่หมดไป

ดอกซากุระ ในภาษาญี่ปุ่นนั้น เชื่อกันว่ากร่อนมาจากคำว่า ซะกุยะ (หมายถึง ผลิบาน) อันเป็นชื่อของเจ้าหญิง โคโนฮะนะซะคุยาฮิเม มีศาลบูชาของพระองค์อยู่บนยอดเขาฟูจิด้วย สำหรับพระนามของเจ้าหญิงองค์ดังกล่าวนั้น มีความหมายว่าเจ้าหญิงดอกไม้บาน และเนื่องจากซากุระเป็นดอกไม้ที่นิยมกันมากในญี่ปุ่นสมัยนั้น คำว่าดอกไม้ดังกล่าวจึงหมายถึงดอกซากุระนั่นเอง เจ้าหญิงองค์ดังกล่าวได้รับพระนามเช่นนั้น ก็เพร

ที่มา  http://board.postjung.com/540748.html

แก้วเจ้าจอม” (WOOD OF LIFE)

แก้วเจ้าจอม

“แก้วเจ้าจอม”  (WOOD OF LIFE)

“แก้วเจ้าจอม” เป็นพรรณไม้หอม เป็นพืชที่จัดอยู่ในวงศ์ Zygophyllaceae
มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Guaiacum officinale Linn.
ศาสตราจารย์เต็ม สมิตินันท์ ผู้เชี่ยวชาญด้านพฤกษศาสตร์
เป็นผู้ตั้งชื่อต้นไม้ชนิดนี้ว่า “แก้วเจ้าจอม” หรือ “น้ำอบฝรั่ง”

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงได้พันธุ์ “แก้วเจ้าจอม”
มาปลูกในเขตพระราชวังดุสิต เมื่อคราวเสด็จประพาสอินโดนีเซีย
ปัจจุบัน “แก้วเจ้าจอม” ต้นนั้นมีอายุกว่า ๑๐๐ ปี

“แก้วเจ้าจอม”  (WOOD OF LIFE)

ลักษณะทั่วไป
ชื่อวิทยาศาสตร์ Guaiacum officinale linn
ตระกูล               Zygophyllaceae
ชื่อสามัญ            Lignum Vitae
ถิ่นกำเนิด        อเมริกาใต้ และหมู่เกาะอินดีสตะวันตก

แก้วเจ้าจอมเป็นต้นไม้ขนาดเล็กถึงขนาดกลาง
สูง 10 – 15 เมตร
ไม่ผลัดใบ ลำต้นคดงอ กิ่งก้านเป็นปุ่มปม
เป็นไม้เนื้อเเข็งมาก ต้นแตกใบพุ่มแผ่กว้าง
เหมาะเป็นไม้ปลูกในสนาม
เปลือกของต้นสีเทาเข้ม
กิ่งมีข้อพอง เห็นเป็นปุ่มๆทั่วไป
ใบ ประกอบแบบขนนกปลายคู่
มีใบย่อย 2 – 3 คู่
เรียงตรงข้ามคู่แกนกลางใบประกอบ
ยาว 1 – 1.5 เซนติเมตร
ก้านใบประกอบยาว 0.5 – 1.0 เซนติเมตร
ใบย่อยไม่มีก้าน รูปไข่กลับ
รูปไข่กว้าง หรือรูปรีเบี้ยวเล็กน้อย
มี 2 ชนิด คือ ใบย่อย 2 คู่ ออกดอกง่าย
และชนิดใบย่อย 3 คู่ ออกดอกน้อยกว่า
ผิวของใบเป็นมัน

ผิวของใบเป็นมัน

ดอกเป็นดอกเดี่ยวสีฟ้าอมม่วงหรือสีฟ้าคราม
และจะจางลงเมื่อใกล้โรยมีกลิ่นหอม

ผล มีเนื้อขนาดเล็ก รูปหัวใจกลับกดแบนลง
สีเหลืองสดใส หรือส้มเมล็ดแข็งรูปไข่ เป็นต้นไม้นำเข้ามา
ในสมัยรัชกาลที่ 5 ปลูกอยู่ในวังสวนสุนันทา
(ปัจจุบันคือสถาบันราชภัฏสวนสุนันทา)

ออกดอกในช่วงเดือนธันวาคม-เมษายน และเดือนสิงหาคม-ตุลาตคม

แก้วเจ้าจอมชอบอยู่กลางแจ้ง เป็นไม้กลางแจ้ง
เติบโตได้ดีในดินร่วนระบายน้ำได้ดี
ปลูกเป็นไม้กระถางก็ได้หรีอปลูกลงดินก็ได้
วัสดุที่ใช้ปลูก คือ ดินก้ามปู : ปุ๋ยคอกอัตราส่วน 1:2:1

ที่มา  http://www.yanchaow.com/view564.aspx